Don't miss

ภัยที่แฝงตัวมากับการรับประทานโปรตีนมากเกินไป

By on April 25, 2014

โปรตีน

โปรตีน

ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ของโปรตีน เราๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่สิ่งที่เราไม่ค่อยทราบกันก็คือ หากรับประทานโปรตีนเข้าไปมากจนเกินไป จะมีโทษด้วยนี่สิคะ! December จึงรีบไปนำข้อมูลอีกมุมหนึ่งของการรับประทานโปรตีนมาฝากแฟนๆ เพื่อจะได้ระวังและรับประทานโปรตีนให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับร่างกายกันค่ะ

ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายคนเราต้องการในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 50 กรัมต่อวันเท่านั้นเองค่ะ นี่คือตัวเลข “ต่อวัน” นะคะ ไม่ใช่ “ต่อมื้อ” โดยปริมาณเนื้อสัตว์ 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะให้โปรตีนราวๆ 20 กรัม ดังนั้นใน 1 มื้อ ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์เกิน 80 กรัม (อู้ว์ น้อยจัง!)

โปรตีนมีอยู่มากในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วและธัญพืชต่างๆ เมื่อเรารับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์เข้าไปมากๆ ก็จะเกิดการสะสมของไนโตรเจนในรูปของกรดยูริค  ซึ่งโดยปกติแล้ว ไตจะทำหน้าที่ขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ การรับประทานโปรตีนมากเกินไป ไตจึงต้องทำงานหนักขึ้น และถ้าไตขับไนโตรเจนออกไปไม่หมด กรดยูริคที่ตกค้างอยู่จะเข้าไปเกาะอยู่ตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ เท่ากับว่าเรากำลังเซ็นชื่อจองคิวเป็นผู้ป่วยโรคเก๊าต์หรือโรคไขข้อไว้ล่วงหน้าดีๆ นี่เองค่ะ และเมื่อร่างกายมีสภาวะเป็นกรดจากการรับประทานโปรตีนมากๆ วิธีการปรับสภาพกรด-ด่างให้แก่ร่างกายอย่างง่ายๆ คือการรับประทานผักและผลไม้เพิ่มเข้าไปให้เกิดสมดุลค่ะ

แม้ว่าการรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เกินความต้องการ ซึ่งทำให้มีกรดในร่างกายสูงอย่างต่อเนื่องจะไม่ทำให้เห็นโรคร้ายทันตา แต่อาการความเสื่อมจะค่อยๆ สะสมตัว เนื่องจากภาวะความเป็นกรดจะไปทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่เป็นด่าง อาทิ แคลเซียม แมกนีเซียม โปแทสเซียม เป็นต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยถ้าไปเจอคนที่ดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว แต่ยังเป็นโรคกระดูกพรุนได้ เนื่องจาก นม ซึ่งมีแคลเซียมสูง แต่โปรตีนก็สูงมากเช่นกัน หากนม 1 แก้วให้โปรตีนราวๆ 20 กรัม การดื่มแค่วันละ 2 แก้วก็แทบจะเกินโควตาโปรตีนต่อวันแล้ว แต่ว่าใน 1 วันคุณไม่ได้ดื่มแค่นมนะคะ คุณยังมีอาหารอีก 3 มื้อ ที่มีเนื้อสัตว์เป็นองค์ประกอบเพิ่มเข้าไปอีก สรุปง่ายๆ ว่า…เกินซะยิ่งกว่าเกินแน่นอนค่ะ

การรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และเลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์หมุนเวียนกับโปรตีนจากถั่วและธัญพืชอยู่เสมอ โดยเพิ่มปริมาณพืชผักใบเขียวและผลไม้สดให้มากขึ้น ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันลงบ้าง เท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายได้สารอาหารครบ สุขภาพดีตลอดไปแล้วล่ะค่ะ

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

Tip
การรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนเข้าไปหลังการออกกำลังกายราวๆ 30-45 นาที ร่างกายจะดูดซึมเอาโปรตีนไปใช้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่อาจเกิดการฉีกขาดเล็กๆ น้อยๆ อันเนื่องมาจากออกกำลังกายได้ดีที่สุด ส่งผลให้อัตราการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่มักจะเกิดขึ้นในวันถัดไปลดลงอย่างมากด้วยล่ะค่ะ

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

โปรตีน

ขอบคุณภาพประกอบจาก fisho.com, ployprotein.blogspot.com, student.chula.ac.th, women.thaiza.comม health4u.exteen.com, swimfanclub.com

www.decembertown.com // Healthy Society สังคมสุขภาพแนวใหม่ของคนไทย

You must be logged in to post a comment Login