Don't miss

รังสี UV ตัวการร้ายอันตรายต่อดวงตา

By on September 23, 2013
รังสี UV ตัวการร้าย อันตรายต่อดวงตา

รังสี UV ตัวการร้าย อันตรายต่อดวงตา

รังสีอุลตร้าไวโอเลต (Ultra Violet) หรือรังสียูวี UV เป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รังสีชนิดนี้ไม่เพียงแต่ทำอันตรายต่อผิวหนังของเราเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อดวงตาของเราอีกด้วย

ความผิดปกติของดวงตาจากรังสี UV

  • เปลือกตา
    ผิวเปลือกตาแห้ง ผิวหนังเป็นจุดด่างมีริ้วรอยชัดเจน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งผิวหนังบริเวณเปลือกตา
  • เยื่อบุตา
    มีการเสื่อมของเยื่อบุตา เป็นตุ่มสีเหลืองบริเวณเยื่อบุตาบริเวณชิดตาดำ หรือที่เรียกว่า ต้อลม ซึ่งเกิดจากสิ่งระคายเคืองต่างๆ เช่น ลม ฝุ่น และรังสี UV เมื่อเป็น ต้อลม แล้วไม่ได้รับการดูแลอาจลุกลามกลายเป็นเนื้อยื่นเข้าไปในตาดำ หรือที่เรียกว่า ต้อเนื้อ ได้ โดยสาเหตุหลักของการเกิดต้อลม และต้อเนื้อ ได้แก รังสี UV นั่นเอง
  • ตาดำ หรือกระจกตา
    ในรายที่ถูกแสงแดดเป็นเวลานาน สัมผัสรังสี UV เป็นอย่างมาก จะเกิดแผลจุดเล็กๆ กระจายทั่วตาดำ เรียกว่า Superficial punctate keratitis มักพบในนักเล่นสกี หรือผู้ที่ทำงานเชื่อมโลหะโดยไม่ใส่แว่นตา ผู้ป่วยทั้ง 2 กรณีนี้ มักจะมีอาการปวดตามาก น้ำตาไหล และมักจะมีอาการหลังจากถูกแสง 6-10 ชม. ในรายที่ได้รับรังสี UV ในปริมาณน้อยแต่เป็นระยะเวลานานๆ มักพบเป็นฝ้าสีขาวอมเหลือง ที่เกิดจากโปรตีนในชั้นกลางของกระจกตาเปลี่ยนไป หากเป็นมากขึ้นจนลามเข้าไปบริเวณกึ่งกลางตาดำ อาจทำให้ตามัวได้
  • แก้วตา
    ผลของรังสี UV ที่มีต่อ แก้วตา ทำใหเกิดต้อกระจก โดยเฉพาะรังสี UVB มีผลทำให้เกิดต้อกระจกได้มาก แม้รังสี UVB จะถูกดูดซึมจากกระจกตา น้ำ aqueous ไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกจำนวนเล็กน้อยที่สามารถเล็ดลอดเข้าไปถึง lens epithelium ก่อให้เกิดต้อกระจกได้
  • จอตา
    จอตาของคนเรามีสารสี lipofuscin, xanthophyll, melanin, superoxide dismutase และอื่นๆ ที่ช่วยปกป้องจอตา แต่สารเหล่านี้จะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้นและมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายเมื่อถูกรังสี UV ทำให้กระบวนการปกป้องจอตาไม่ดี อาจมีการอักเสบหรือได้รับอันตรายบริเวณจอตาได้
รังสี UV ตัวร้ายอันตรายต่อดวงตา

รังสี UV ตัวร้ายอันตรายต่อดวงตา

ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่ออันตรายจากรังสี UV มากกว่าคนทั่วไป

  • ผู้สูงอายุ
    กระบวนการปกป้องอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะเสื่อมไปตามอายุ การได้รับรังสี UV สะสมมาเป็นระยะเวลานานๆ มักเกิดปฏิกิริยาแบบสะสมในร่างกาย
  • สีผิว สีตา
    ผู้ที่มีสีม่านตาอ่อนกว่า มีความเสี่ยงในการเป็นโรคจอตาเสื่อมมากกว่าผู้ที่มีสีตาเข้ม เนื่องจากผุ้ที่มีตาสีอ่อนจะซึมซับรังสีได้มากกว่าผู้ที่มีสีตาเข้ม
  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งหรือที่สูง เช่น นักเล่นสกี นักบิน นักปีนเขา เป็นต้น
  • ผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้เครื่องก่อรังสี UV เช่น เครื่องฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล ตะเกียงปรอท หลอดไฟที่มีไส้ ประเภทแสงที่เกิดจากการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าผ่านไอของก๊าสหรือโลหะ ตลอดจนเครื่องเลเซอร์ต่างๆ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคจอตาเสื่อม โรค Xeroderma pigmentosa เป็นต้น

 

www.decembertown.com // Healthy Society สังคมสุขภาพแนวใหม่ของคนไทย

You must be logged in to post a comment Login