Don't miss

เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการบริโภคน้ำมันปลา

By on July 27, 2014
น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าในน้ำมันปลา หรือ Fish Oil จะประกอบไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (แบ่งเป็น EPA และ DHA) และกรดไขมันโอเมก้า-6 ซึึ่งจะไปช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ลดระดับความดันโลหิต ลดการเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด ลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ค่ะ (ขอเน้นอีกครั้งเพื่อจะได้เข้าใจตรงกันนะคะว่าเรากำลังพูดถึง “น้ำมันปลา”…ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับ “น้ำมันตับปลา” นะคะ)

โดยปกติ ผู้บริโภคมักจะซื้อน้ำมันปลามารับประทาน เพราะได้ยินแต่กิตติศัพท์เล่าลือถึงประโยชน์ที่จะได้รับเพียงด้านเดียว แต่ไม่เคยตั้งใจหาข้อมูลรอบด้าน December จึงขอนำเสนอข้อมูลอีกด้าน เพื่อเตือนให้คุณผู้อ่านได้ทราบว่าใครควรบริโภคน้ำมันปลา และใครที่ไม่ควรบริโภค หรือบริโภคได้แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ค่ะ ทุกท่านจะได้รับประทานน้ำมันปลาอย่างได้ประโยชน์เต็มที่ โดยไม่เผลอทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวนะคะ…

เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการรับประทานน้ำมันปลา

- เริ่มต้นจากการเลือกรับประทานน้ำมันปลาที่มาจากปลาทะเลน้ำลึกในธรรมชาติ มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่มีสารพิษหรือโลหะหนักปนเปื้อน และควรเลือกซื้อน้ำมันปลาโดยดูที่ปริมาณ DHA และ EPA เป็นหลักว่ามีมากกว่า 20% และอัตราส่วนของ DHA : EPA ก็ควรจะเป็น 1:2 หรือ 2:3 ค่ะ

- ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำควรเลี่ยงการรับประทานน้ำมันปลา เนื่องจากน้ำมันปลาจะไปลดความดันโลหิตที่ต่ำอยู่แล้วให้ยิ่งตกลงไปอีกค่ะ

- หากต้องการรับประทานน้ำมันปลาเพื่อช่วยหวังจะให้ช่วยลดไขมันในเลือด ก็ต้องชี้แจงกันนิดนึงว่า ถึงแม้ว่าการบริโภคน้ำมันปลาจะช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ และช่วยเพิ่มระดับ HDL ไขมันดีให้สูงขึ้น แต่ LDL ก็ขยับตัวเพิ่มตามมาด้วยเหมือนกันค่ะ

- การรับประทานอาหารเสริมกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปริมาณสูง พบว่าในบางรายอาจมีรอยฟกช้ำตามตัว หรือมีเลือดกำเดาได้ง่าย หรืออาจจะมีเลือดปนมากับปัสสาวะ และเมื่อบาดเจ็บ เลือดจะหยุดไหลได้ช้ากว่าปกติ เนื่องจากความหนืดของเกล็ดเลือดน้อยลง เลือดใสขึ้น แผลจึงหายช้าลงไปด้วยค่ะ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่เป็นประจำ ไม่ควรซื้อน้ำมันปลามารับประทานเองโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์นะคะ!

- ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่ารับประทานได้หรือไม่ได้ เนื่องจากการบริโภคน้ำมันปลาจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดหลอดเลือดในสมองแตกได้มากขึ้นค่ะ!

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

ขอบคุณภาพประกอบจาก thai.alibaba.com, beautyclickshop.com, sirinpharmacy.exteen.com, vita-smile.com, manuallock.com, vitaminboom.com

www.decembertown.com // Healthy Society สังคมสุขภาพแนวใหม่ของคนไทย

You must be logged in to post a comment Login